เมนู

ความดับแห่งวิญญาณอย่างนี้ รู้ยิ่งซึ่งข้อปฏิบัติอันให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณอย่างนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด
เพราะความดับ เพราะไม่ถือมั่นวิญญาณ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น
ชื่อว่าหลุดพ้นดีแล้ว สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดหลุดพ้นดีแล้ว
สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน
สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้มีกำลังสามารถเป็นของตน
ความวนเวียนเพื่อความปรากฏ ย่อมไม่มีแก่สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น.
จบ ปริวัฏฏสูตรที่ 4

อรรถกถาอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ 4



ในอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า จตุปริวฏฺฏํ ได้แก่ความหมุนเวียน 4 อย่าง ในขันธ์แต่ขันธ์.
บทว่า รูปํ อพฺภญฺญาสึ ความว่า ได้รู้ยิ่งว่า รูปเป็นทุกขสัจ. พึงทราบ
ความด้วยอำนาจสัจจะ 4 ในบททั้งปวง ด้วยประการฉะนี้. กพฬิง-
การาหารที่เป็นไปกับฉันทราคะ ชื่อว่า อาหาร ในคำว่า อาหารสมุทยา
นี้. บทว่า ปฏิปนฺนา ได้แก่เป็นผู้ปฏิบัติตั้งต้นแต่ศีลจนถึงอรหัตตมรรค.
บทว่า คาธนฺติ แปลว่า ตั้งอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเสขภูมิด้วย
พระดำรัสมีประมาณเท่านี้ บัดนี้เมื่อจะตรัสอเสขภูมิ จึงตรัสคำมี
อาทิว่า เย จ โข เกจิ ภิกฺขเว ดังนี้. บทว่า สุวิมุตฺตา ได้แก่พ้นด้วยดีด้วย
อรหัตตมรรค. บทว่า เกพลิโน ได้แก่มีกำลังเป็นของตน คือมีกิจที่จะ
พึงทำ. บทว่า วฏฺฏํ เตสํ นตฺถิ ปญฺญาปนาย ความว่า สมณพราหมณ์
ความปรากฏย่อมไม่มีแก่เขาเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วฏฺฏํ

ได้แก่เหตุ ความว่า เหตุเพื่อความปรากฏย่อมไม่มี ด้วยพระดำรัสเพียง
เท่านี้ เป็นอันทรงแสดงวาระแห่งอเสขภูมิแล้ว.
จบ อรรถกถาอุปาทานปริวัฏฏสูตรที่ 4

5. สัตตัฏฐานสูตร



ว่าด้วยการรู้ขันธ์ 5 โดยฐานะ



[118] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน
อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ได้ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะ
7 ประการ ผู้เพ่งพินิจโดยวิธี 3 ประการ เราเรียกว่ายอดบุรุษผู้เสร็จกิจ
อยู่จบพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้ฉลาด
ในฐานะ 7 ประการ เป็นอย่างไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ รู้ชัดซึ่งรูป เหตุเกิดแห่งรูป ความดับแห่งรูป ปฏิปทาอันให้
ถึงความดับแห่งรูป คุณแห่งรูป โทษแห่งรูป และอุบายเครื่องสลัดออก
แห่งรูป รู้ชัดเวทนา ฯลฯ สัญญา ฯลฯ สังขาร ฯลฯ วิญญาณ เหตุเกิด
แห่งวิญญาณ ความดับแห่งวิญญาณ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่ง
วิญญาณ คุณแห่งวิญญาณ โทษแห่งวิญญาณ และอุบายเครื่องสลัดออก
แห่งวิญญาณ.